พัฒนาการลูกน้อยวัย 9 เดือน

พัฒนาการลูกน้อยวัย 9 เดือน

พัฒนาการลูกน้อยวัย 9 เดือน

เข้าสู่วัยตั้งไข่ของลูกน้อยแล้วนะคะ เด็กน้อยหลายคนยืนและเดินได้แล้ว แต่บางคนก็อาจจะยังพอใจกับการคลานอยู่ค่ะ  คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เมื่อไรที่ลูกพร้อมที่จะยืนหรือเดิน ลูกจะทำได้เองค่ะ บางทีเด็กน้อยจะลุก ๆ นั่ง ๆ บ่อยๆ นั้นแสดงให้เห็นว่าเด็กน้อยกำลังฝึกฝนอยู่ค่ะ  คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกฝึกเดินบนพื้นผิวต่าง ๆ โดยเฉพาะพื้นผิวที่จะช่วยนวดฝ่ายเท้าลูก เช่น พื้นทราย พื้นหญ้า ซึ่งเป็นการนวดฝ่าเท้าลูก ช่วยทำให้เส้นประสาทสมองของลูกเชื่อมโยงกับประสาทที่ฝ่าเท้า

 

พัฒนาการลูกน้อยในเดือนที่ 9 นี้เป็นวัยที่มีการฝึกฝนขั้นตอนการพัฒนาการต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น และต้องการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา

พัฒนาการด้านร่างกาย

เด็กน้อยเริ่มคลานมาได้สักพักใหญ่ ๆ แล้ว ในเดือนนี้เด็กน้อยจะเริ่มตั้งไข่และยืนได้เพียงลำพัง แต่อาจยังไม่มั่นคงนัก คุณพ่อคุณแม่ควรระวังอุบัติเหตุต่าง ๆ  โดยเฉพาะบันได โต๊ะ ตู้  คุณพ่อคุณแม่ควรระวังลูกปีนป่ายโต๊ะ
ดึงลิ้นชัก ควรล็อกลิ้นชักไว้ด้วยนะคะ  วัย 9 เดือนเด็กน้อยจะคลานโดยแขนขาเหยีดตรงได้ ถือของเล่นด้วยมือขณะคลานได้ด้วยค่ะ การลุกยีนไม่ต้องเกาะอะไรแล้ว นั่งเก้าอี้หลังตรงโดยไม่ล้ม ที่ดูพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือการนั่งลงจากท่ายืนได้
เด็กน้อยวัยนี้จะมีความสุขมากกับการยืนได้ของตัวเอง และจะสนุนสนานกับการได้เคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เนื่องจากกล้ามเนื้อมัดเล็กของลูกน้อยทำงานดีขึ้น ทำให้เด็กน้อยสามารถหยิบจับสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ได้แล้วนะคะ แถมยังชอบให้นิ้วชี้แคะแหย่ตามช่องต่าง ๆ เสียด้วย  คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังรูปลั๊กไฟต่าง ๆ ควรหาอะไรมาปิดไว้ให้เรียบร้อย ป้องกันกันตรายที่จะเกิดกับลูก  นอกจากนั้นลูกยังสามารถหยิบจับของชิ้นเล็ก ๆ  ไปใส่ในชิ้นใหญ่ได้ด้วย
ระวังเด็กน้อยหยิบเอาของชิ้นเล็ก ๆ  เข้าปากด้วยนะคะ อาจทำให้ติดคอหายใจไม่ออก เป็นอันตรายมากค่ะ

 

พัฒนาการด้านสติปัญญาและอารมณ์

เด็กน้อยมีพัฒนาการของสมองส่วนซีรีเบลลัมมากขึ้น ทำให้รักษาสมดุลการทรงตัว และกล้ามเนื้อของเด็กทำงานสัมพันธ์กันทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น เด็กน้อยจะเปลี่ยนจากคลานไปเป็นการเดินได้ พร้อมกับการเคลื่อนไหวอัตโนมัติ การไขว่คว้าสิ่งต่างๆ ได้แม่นยำขึ้นอีกด้วย  เด็กน้อยจะเริ่มรู้สึกกลัวโดยไม่มีเหตุผล หรือจากที่ไม่เคยกลัวมาก่อนลูกกลับกลายเป็นกลัว คุณพ่อคุณแม่อาจทำตัวถูกในบางครั้งใช่มั๊ยค่ะ  คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ใกล้ ๆ คอยกอดเขา และบอกลูกว่าไม่มีอะไร ชวนลูกลองสัมผัสสิ่งที่เด็กน้อยกล้ว จะช่วยให้เด็กน้อยรู้จักสิ่งนั้น ๆ และค่อย ๆ เอาชนะความกลัวด้วยตนเองได้

เด็กวัย 9 เดือนมีความมั่นคงทางจิตใจบ้างแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นว่าลูกต้องการเล่นหรือทำอะไรด้วยตนเอง คุณพ่อคุณแม่ควรให้โอกาสลูกได้ลองทำลองเล่นนะคะ บางครั้งลูกอาจทำบางสิ่งซ้ำๆ เป็นการฝึกของลูกนั่งเอง  ลูกกำลังฝึกนำเอาประสบการณ์มาช่วยแก้ปัญหา การเล่นในวัยนี้มีความสำคัญเป็นการกระตุ้นพัฒนาการระบบประสาทส่วนรับสัมผัสของลูกให้ดีขึ้น และยังจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านภาษาให้แก่เด็ก ทำให้ลูกเรียนรู้ภาษาได้เร็วขึ้นด้วยค่ะ  ถึงตอนนี้เด็กน้อยจะยังพูดไม่เป็นคำที่ฟังมีความหมายมากนัก แต่ลูกจะเริ่มมีการออกเสียงที่พอฟังได้
ซึ่งอีกไม่กี่เดือนลูกก็จะสามารถออกเสียงคำที่มีความหมายได้ถูกต้องแล้ว พยายามพูดคุยกับเด็กน้อยบ่อย ๆ  นะคะ เรียกชื่อสิ่งของ ขื่อคุณพ่อคุณแม่ คุณตา คุณยาย ส่งจูบ ซึ่งลูกเข้าใจและทำตามได้แล้วค่ะ

 

พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม

เด็กน้อยเริ่มมีความสนใจต่อเด็กคนอื่นๆ มากขึ้น ชอบจองมองเพื่อน ๆ ที่เล่นอยู่รอบ ๆ ตัวเอง มีความอ่อนไหวกับสังคมภายนอก เช่น ถ้าเห็นเด็กคนอื่นร้องไห้ก็จะร้องไห้ตาม จะให้ความสำคัญกับอารมณ์และท่าทีของผู้อื่น รวมทั้งจะสร้างวิธีการเล่นกับคนอื่นขึ้นเองได้แล้ว แต่ยังควบคุมอารณ์และความเครียดไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่จะเห็นลูกร้องไห้จากการแย้งของเล่นกันบ่อย ๆ  แต่เด็กน้อยนั้นสามารถประเมินอารมณ์ของคนอื่นได้บ้างแล้วค่ะ ดังนั้นการที่คุณพ่อ คุณแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน รวมถึงมีทัศนคติ ความคิดเห็นในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนลูกไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน หรือถ้ามีความขัดแย้งบ้าง ก็ควรมีการพูดคุย ตกลงกันให้เป็นทิศทางเดียวกัน จะช่วยให้ลูกไม่สับสน และมีพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมได้เป็นอย่างดีนะคะ

 

นอกจากนั้นแล้วเด็กน้อยวัยนี้สามารถเข้าใจและทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้แล้วค่ะ เช่น เอาลูกบอลมาให้แม่หน่อย  เมื่อลูกทำได้คุณพ่อคุณแม่อย่างลืมปรบมือหรือชมในสิ่งที่ลูกทำนะคะ เด็กน้อยจะชอบใจและจะพยายามฝึกฝนซ้ำอีกครั้ง  ในเดือนที่ 9 นี้คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มฝึกให้ลูกเลิกนมขวด และเริ่มให้ฝึกดื่มจากถ้วยแทนได้แล้วนะคะ โดยอาจเริ่มใช้ถ้วยฝึกดื่มในช่วงเวลาที่เด็กน้อยไม่ค่อยสนใจดูดนมจากขวด อาจเริ่มจากฝึกดื่มน้ำก่อน แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนมากเป็นนมในภายหลัง อาจใช้เวลาสักนิดนะคะ ให้ลูกได้ฝึกและยอมรับการดื่มจากถ้วย  คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเร่งรัดลูกนะคะ
ค่อยเป็นค่อยไป แล้วเด็กน้อยก็จะทำได้ค่ะ