พัฒนาการของลูกน้อยวัย 3 เดือน

พัฒนาการของลูกน้อยวัย 3 เดือน

เย้ๆๆๆ  ก้าวเข้าสู่เดือนที่ 3 ของลูกน้อยแล้วนะคะคุณพ่อคุณแม่    ในเดือนที่ 3  ของลูกน้อยนี้ทุกอย่างดำเนินไปได้ดีกว่าตอนลูกอายุ 2 เดือนอย่างมากเลย    ตอนนี้ลูกน้อยสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ทั่วห้องแล้วค่ะ   ยิ่งโตขึ้นลูกน้อยยิ่งนอนน้อยลง   โดย ในวัย 3 เดือนเวลานอนจะลดลงเหลือประมาณ 15 ชั่วโมงต่อวัน

ระบบสายตาที่ทำงานได้มากขึ้นนี้เองทำให้ลูกน้อยพร้อมจะเรียนรู้ในสิ่งที่แกมองเห็น  การเรียนรู้ของลูกน้อยวัย 3 เดือนเป็นเสมือนฟองน้ำที่ดูดซับทุกสิ่งทุกอย่างรอบ ๆ ตัว    ลูกน้อยจะชอบมองดูความเป็นไปเป็นมาของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว และจะสื่อสารกับโลกภายนอกมากขึ้น   โดยแสดงปฏิกิริยาด้านอารมณ์ความรู้สึก  คุณพ่อคุณแม่คงจะเคยเห็นลูกน้อยหยุดทำกิจกรรมที่ทำอยู่แล้วมองมาทาคุณพ่อคุณแม่จากนั้นก็ส่งเสียงร้องคู ๆ ในลำคอเหมือนกำลังพูดคุยด้วย  หรือบางครั้งลูกจะแสดงอารมณ์ทางสีหน้า เช่น เมื่อเห็นหน้าพ่อแม่ หรือคนที่คุ้นเคย ลูกน้อยก็จะยิ้ม…ยิ้มทั้งหน้าเลยล่ะค่ะ  ในวัยนี้เด็กน้อยจะยิ้มเก่ง แถมยังชอบส่งเสียงหัวเราะเอิ๊กอ้ากให้พ่อแม่อีกด้วย…นั่นเป็นสัญญาณเริ่มต้นของบทสนทนระหว่างพ่อแม่กับลูกน้อยค่ะ…   การส่งยิ้มหวานนำความชื่นใจและความสุขมาให้พ่อแม่ เมื่อลูกยิ้มพ่อแม่ก็จะยิ้มกลับ ทำให้เกิดการส่งยิ้ม ส่งเสียงหัวเราะสลับกันไปมาระหว่างคุณพ่อคุณแม่และคุณลูก

วันนี้ลองมาดูกันว่าลูกน้อยวัย 3 เดือนนั้นจะมีพัฒนาการและการเรียนรู้อะไรบ้างกันนะคะ

 

พัฒนาการด้านร่างกาย

ในเดือนที่ 3 นี้เด็กชายมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 4.5 – 6.5 กิโลกรัม สูง 55-63 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้หญิงจะมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานอยู่  4.2 -6 กิโลกรัม สูง 53-63  เซนติเมตร   ในวัยนี้เมื่อพ่อแม่วางลูกนอนคว่ำ  ลูกน้อยจะชูศรีษะและไหล่ขึ้นทันที โดยใช้แขวนวางค้ำยันไว้ ด้วยลักษณะดังกล่าวทำให้ลูกน้อยมองไปข้างหน้าได้ดีสามารถก้มมองตนเองได้ด้วยค่ะ สิ่งนี้ทำให้ลูกสามารถกลิ้งม้วนตัวหรือพลิกตัวกลับได้ด้วย   จับนั่งพิงได้ นั่งได้มั่นคงขึ้น
ศีรษะโงกเงกเล็กน้อย การควบคุมการทำงานของร่างกายดีขึ้น ไม่ใช่เป็นปฏิกริยาสะท้อนเหมือนเดือนก่อน ๆ นี้  ในวัยนี้ลูกอาจชะโงกหน้า เอียงคอหันหน้ามองรอบ ๆ  ข้างและพยามยามเอื้อมหาของที่ต้องการ ถ้าจับยืนลูกน้อยจะสามารถตั้งศีรษะได้ตรง ส่วนขานั้นยังงออยู่ค่ะ …..วัย 3 เดือนนี้ลูกน้อยจะมีอาการถีบขาเหมือนกำลังกระโดด สามารถใช้แขวนประสานกับสายตาในการหยิบจับสิ่งของได้แล้ว แถบยังสนุกกับการจับสิ่งของ และสำรวจมือของตนเองด้วย ถึงวันนี้ชอบนอนหงายแล้วเอื้อมมือปัด จับ เล่นสิ่งของที่แขวนตรงหน้า พ่อแม่อย่าลือแขวนโมบายล์ให้ลูกได้มองและใช้มือจับเล่นนะคะ จะช่วยให้ลูกสนุก มีอารมณ์ดีได้อย่างดีเลยค่ะ

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในวัยเด็กเล็ก เป็นพื้นฐานที่สำคัญของพัฒนาการของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในวัยต่อๆ ไป วันนี้พ่อแม่สามารถช่วยออกกำลังกล้ามเนื้อคอของลูกน้อยได้ด้วยการจับนอนหงาย แล้วดึงมือลูกให้ลุกขึ้นมาสู่ท่านั่งอย่างช้า ๆ หากทำอย่างนี้บ่อย ๆ  จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อคอลูกได้ทางหนึ่ง ในขณะที่ดีมือลูกน้อยจะพยายามเกร็งคอและศรีษะให้ตั้งตรง  แต่อย่ากระตุ้นพัฒนาการให้ลูกควบคุมศีรษะได้เร็ว ๆ จนเกินความสามารถของลูกนะคะ พ่อแม่ควรระมัดระวังให้ลูกผ่านพัฒนาการแต่ละขั้นไปได้ด้วยดีจะดีกว่า

 

พัฒนาการด้านสติปัญญาและอารมณ์

ในช่วงเดือนที่ 3 นี้ลูกมีการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท คลื่นสมองของเด็กจะมีลักษณะใกล้เคียงกับสมองของผู้ใหญ่แล้วนะคะ   ความสมดุลทางเคมีและโครงสร้างของเซลล์ในสมองก็ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงด้วย ปฏิกิริยาสะท้อนกลับแบบอัตโนมัติเริ่มหายไป  นั่นแสดงว่าสมองของลูกน้อยสามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น

คุณพ่อคุณแม่รู้มั๊ยคะว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลในการกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยเป็นอย่างมาก  สังเกตได้จากเด็กที่พ่อแม่อุ้ม เล่น ยิ้ม พูดคุยด้วย รวมทั้งมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมอง การฟัง การสำรวจปากและมือ จะมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้มากว่าค่ะ

เพื่อพัฒนาการสื่อสารของลูก คุณแม่จึงควรชวนลูกพูดคุยบ่อย ๆ ทุกวัน  โดยคุณแม่อาจทำหน้าตา ปากล้อเลียนลูก เช่น ทำปากจู๋ อ้าปากหาว แลบลิ้น จะเห็นว่าลูกสามารถขยับปาก หรือทำหน้าตาเหมือนคุณแม่ได้ อ่านหนังสือให้ลูกฟัง การเล่นกับลูกเป็นหนทางที่ดีที่ช่วยให้ลูกได้เรียนรู้เรื่องคำ การใช้คำมากยิ่งขึ้น   ช่วยส่งเสริมความคิดและสติปัญญาและความฉลาดเรียนรู้ของลูกได้ค่ะ

 

พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม

ในเดือนที่ 3 นี้ลูกน้อยนอกจากยิ้มเก่งแล้ว ลูกยังส่งเสียงหัวเราะเอิ๊กอ๊ากโต้ตอบมากขึ้น  ยอมเล่นกับคนอื่น ๆ มากขึ้น ยามที่ได้พบเห็นคนใหม่ ๆ จะแสดงอาการดีอกดีใจด้วยการร้องเสียงสูงและหัวเราะร่าเริง แต่ถึงอย่างไรลูกวัย 3 เดือนนี้ก็ยังต้องการคุณพ่อคุณแม่เป็นอันดับหนึ่งนะคะ

คุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้เรียนรู้ รู้จักผู้คน สถานที่ และสิ่งของต่าง ๆ  ซึ่งจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับโลกรอบตัวและจะส่งผลในทางที่ดีด้านสัมพันธภาพของลูกกับผู้อื่นตอนลูกโตค่ะ ทำให้ลูกทำงานอย่างกระตือรือร้น สามารถคิดต่อเรื่องต่าง ๆ ได้รวดเร็ว  ในวัยนี้ลูกได้ปรับตัวและทำความรู้จักกับโลกใหม่ผ่านทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ ค่ะ  พ่อแม่ควรจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการปรับตัวและเรียนรู้ของลูก …

อย่าลืมว่าพ่อแม่เป็นส่วนหนึ่งในการเจริญเติบโตทั้งกายและใจของลูกน้อย มีส่วนในรอยยิ้มและความร่าเริงสดใสของลูกนะคะ^^

เด็กน้อยวัย 3 เดือนนั้นเรียนรู้ที่จะรอคอยอาหาร ซึ่งเป็นเหมืองรางวัลสำหรับเด็กน้อย เวลาที่คุณแม่เตรียมนมให้ช้าไปจะร้อง แต่พอได้ยินเสียงคุณแม่เดินเข้ามาใกล้จะหยุดร้อง  แสดงปฏิกิริยาต่อต้านเมื่อถูกปล่อยให้อยู่คนเดียว  สังเกตได้ค่ะว่าเมื่อคุณแม่เดินจากไปจะร้องไห้จ้า เรียกให้แม่กลับมาอีก บางครั้งก็จะส่งเสียงเดียวกันอยู่นั่นแหละ แต่สำหรับเด็กน้อยจะหมายถึงกำลังคุยอยู่ค่ะ

การเป็นพ่อแม่ในช่วงที่ลูกเล็ก ๆ นั้นจะเหนื่อยมากที่สุด เพราะพ่อแม่ต้องให้เวลาอยู่กับลูกให้มากในขณะที่ต้องมีความรับผิดชอบอื่น ๆ ที่จะต้องทำอีก….พ่อแม่สามารถจัดการกับความรู้สึกเหนื่อยที่เกิดขึ้นได้ด้วยการปรับมุมมองค่ะ…..โดยเปลี่ยนงานที่เป็นกิจวัตรธรรมดาให้เป็นกิจกรรมที่สนุก เช่น  ขณะเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกก็ ร้องเพลงและคุยกับลูกอย่าง
สนุกสนานไปด้วย แถมยัง เป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีให้กับลูกอีกด้วยนะคะ ……..ความรักของพ่อแม่ที่แสดงออกมานั้น ยิ่งลูกน้อยรู้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะรักคนอื่น และมีจิตใจเอื้อเฟื้อมากเท่านั้นค่ะ